วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 20

ลักษณะทางเศรษฐกิจไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง (รัชกาลที่ 4-7)

ลักษณะทางเศรษฐกิจไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง (รัชกาลที่ 4-7)
สภาพเศรษฐกิจในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมัยรัชกาลที่ 4 นั้น    พระราชกรณียกิจทางการบริหารประเทศอันดับแรกที่
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงกระทำเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศ คือ การลดภาษีสินค้าขาเข้า การอนุญาตให้ส่งข้าวเป็นสินค้าออกได้ และการค้าฝิ่นโดยผ่านระบบเจ้าภาษี การทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษ หลังทำสนธิสัญญาเบาว์ริงแล้ว ระบบเศรษฐกิจของไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจแบบยังชีพไปสู่เศรษฐกิจแบบเงินตรากับนานาประเทศ
การค้าขายขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางโดยใช้เงินตราเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน

                                  


สนธิสัญญาเบาว์ริง

สาระสำคัญของสัญญาเบาว์ริงทางเศรษฐกิจ
1. คนในบังคับอังกฤษหรือชาติต่างๆ ทำการค้าได้โดยเสรี
2.ยกเลิกภาษีเบิกร่องหรือค่าปากเรือ โดยให้เก็บภาษีขาเข้าร้อยละ 3 แทน อนุญาตให้
   นำฝิ่นเข้ามาโดยไม่ต้องเสียภาษี แต่จะต้องขายให้กับผู้ผูกขาดการค้าฝิ่นในเมืองไทยเท่านั้น
3.ไทยอนุญาตให้ส่งข้าวเป็นสินค้าออกได้ ยกเว้นในปีที่ทำนาไม่ได้ผล 4.สินค้าออกให้เก็บเป็นภาษี
" ขาออกอย่างเดียว
5.ให้ไทยตั้งโรงภาษีหรือศุลกากร เพื่อทำการตรวจสินค้าต่างๆ ที่นำขึ้นมาจากเรือ และลงเรือเพื่อเก็บภาษีขาเข้าหรือขาออกแล้วแต่กรณีสนธิสัญญาเบาว์ริงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ทางเศรษฐกิจของไทยอยู่หลายประการ คือ
1.การเปลี่ยนแปลงระบบการค้า ไทยยกเลิกวิธีการค้าแบบพระคลังสินค้าให้มีการค้าอย่างเสรี
2.การเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจ การผลิตหลังจากที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ    ระบบเศรษฐกิจของไทยเปลี่ยนจากเศรษฐกิจแบบเลี้ยงตนเอง เป็นระบบเศรษฐกิจเพื่อการค้า
3.การเปลี่ยนแปลงด้านภาษีอากร ไทยต้องยกเลิกการค้าแบบผูกขาด
4.การขยายตัวทางเศรษฐกิจอื่นๆ มีบริษัทและร้านค้าที่ชาวต่างชาติขอเปิดขึ้น
    มากมายในกรุงเทพฯ เช่น บริษัท บอร์เนียว จำกัด  บริษัท เรมีเดอมองตินยี จำกัด  หรือโรงแรมสมัยใหม่
    เช่น โฮเตลฟอลด์ เป็นต้น
5.การพัฒนาประเทศเพื่อรองรับความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ ได้แก่
     5.1 การตัดถนน ถนนสายแรกคือ ถนนเจริญกรุง ฝรั่งเรียกว่า นิวโรด (New Road)ต่อมา
           ได้ตัดถนนเพิ่มขึ้นอีกหลายสาย เช่น ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื้องนคร ถนนพระรามที่ 4  นนสีลม
     5.2 การขุดคลอง พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองผดุงเกษม เพื่อใช้เป็นแนว
           ป้องกันพระนครชั้นนอกและเพื่อสะดวกในการคมนาคม    คลองมหาสวัสดิ์ คลองเจดีย์บูชา             คลองดำเนินสะดวก เพื่อสะดวกในการคมนาคม  ขนส่งสินค้าระหว่างกรุงเทพฯกับหัวเมืองใกล้เคียง

การปฏิรูปเงินตราสมัยรัชกาลที่ 4
   สมัยรัชกาลที่ 4 ระบบการค้าเริ่มขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ระบบเศรษฐกิจแบบ
เงินตรามีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากการขาดแคลนเงินตราในการซื้อขาย       แลกเปลี่ยน เงินตราที่ใช้อยู่ทั่วไปคือ เบี้ย ซึ่งเป็นหอยชนิดหนึ่งได้มาจากหมู่เกาะมาลดีบในมหาสมุทรอินเดีย แต่อัตราแลกเปลี่ยนเบี้ยในท้องตลาดไม่ค่อยจะคงตัว โดยปกติจะอยู่ราว 800 เบี้ย ต่อ 1 เฟื้อง นอกจากนี้ก็มีการใช้เงินพดด้วง เป็นลักษณะก้องกลมมีตราประทับบนตัวด้วง เงินตราทั้ง 2ชนิดไม่เหมาะกับการค้าสมัยใหม่เพราะ เบี้ยแตกง่าย  เงินพดด้วงก็ปลอมได้ง่ายและผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการครั้งเมื่อพ่อค้าต่างชาตินำเงิน   
เหรียญสเปน หรือเหรียญเม็กซิโกเข้ามาใช้ ก็ไม่มีใครยอมรับ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อ    
การค้าขายมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหานี้ชาวต่างประเทศถึงกับแนะนำให้รัฐบาลไทยเลิกใช้  
เงินบาท โดยพ่อค้าเหล่านั้นจะผลิตเงินบาทเข้ามาใช้เอง แต่รัชกาลที่ 4  ไม่ทรงเห็นด้วยเพราะจะเป็นโอกาสให้มีเหรียญปลอมระบาดมากขึ้น
การแก้ปัญหาของรัชกาลที่ 4 ในเรื่องนี้ คือมีพระราชดำริที่จะเลิกใช้เงินพดด้วงซึ่ง
ทำด้วยมือซึ่งผลิตได้ช้าไม่ทันการมาใช้เงินเหรียญที่ผลิตจากเครื่องจักรแทน โดย            ซื้อเครื่องจักรมาจากต่างประเทศ เริ่มมีการผลิตเงินเหรียญเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ.2403 และตั้งแต่นั้นมามีการผลิตเงินเหรียญในชนิดและอัตราต่างๆออกมา
ในปีพ.ศ.2405 โปรดเกล้าฯให้ผลิตเหรียญดีบุกขึ้น2 ชนิด คือ อัฐมีราคา 8 อันต่อ
1 เฟื้อง  และโสฬส  มีราคา 16 อันต่อ 1 เฟื้อง
ปีพ.ศ.2406  โปรดเกล้าฯให้มีการผลิตเหรียญทองมีอัตราต่างกันตามลำดับ ดังนี้
คือ ทศราคาอันละ 8 บาท  พิศราคาอันละ 4  บาทและพัดดึงส์ราคาอันละ 10  สลึง
ปี พ.ศ.2408 โปรดเกล้าฯให้ผลิตเหรียญทองแดง 2 ชนิดคือ  ซีกมีราคา 2 อันต่อ
1 เฟื้อง และเซี่ยว(ปัจจุบันเรียก เสี้ยว) มีราคา 4 อันต่อ 1 เฟื้อง 
โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ รัชกาลที่4 โปรดเกล้าฯให้มีประกาศแจ้งให้ราษฎรได้ทราบ
และชักชวนให้ราษฎรมาใช้เงินเหรียญชนิดต่างๆที่ผลิตขึ้น
นอกจากเงินเหรียญชนิดต่างๆ แล้วรัฐยังได้พิมพ์ธนบัตรที่เป็นกระดาษคล้ายกับ
ปัจจุบันด้วยสมัยนั้น เรียกว่า “หมาย”มีราคาตั้งแต่เฟื้อง จนถึง 1 บาท ผู้ที่เป็นเจ้าของหมายจะได้รับเงินก็ต่อเมื่อนำหมายดังกล่าวนั้นไปขึ้นเงินที่พระคลังมหาสมบัติ แต่ราษฎรไม่เห็นประโยชน์จากการใช้กระดาษเป็นเครื่องแลกเปลี่ยน การใช้หมายดังกล่าวจึงไม่แพร่หลาย
การตั้งโรงงานกระษาปณ์เพื่อผลิตเหรียญตรา ในปีพ.ศ.2403 ในขั้นแรกเป็นวิธีการ
ที่รัฐพยายามที่จะ แก้ปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น แต่ผลที่ตามมานอกเหนือจากนั้น         ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบเงินตรา ซึ่งถือได้ว่าเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและการค้า เพราะการซื้อขายแลกเปลี่ยนด้วยเงินตราในระบบใหม่ที่สะดวกกว่าระบบเก่า ย่อมจะทำให้    การค้าระหว่างประเทศขยายตัว ปริมาณการหมุนเวียนของสินค้ามีมากขึ้นตามไปด้วย


การปรับปรุงเศรษฐกิจในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2411-2453)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปเศรษฐกิจ ดังนี้

1.การปฏิรูปด้านการคลัง รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้น
ในปี พ.ศ.2416 ในพระบรมมหาราชวัง ทำหน้าที่รับผิดชอบรวบรวมเงินภาษีอากร          ทุกชนิดนำส่งพระคลังมหาสมบัติ ทำบัญชีรวบรวมผลประโยชน์ ตรวจตราการเก็บ       ภาษีอากรของหน่วยราชการต่างๆ ให้เรียบร้อยรัดกุม รับผิดชอบการจ่ายเงินเดือนในอัตราที่แน่นอนให้กับข้าราชการฝ่ายพลเรือนและทหาร
เฉพาะในส่วนกลางแทนการจ่าย เบี้ยหวัดและเงินปี



                                     



2. การปฏิรูประบบเงินตรา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงปฏิรูประบบเงินตรา  ดังนี้
           2.1การประกาศกำหนดมาตราเงินใหม่ ให้มีเพียง 2 หน่วย คือ บาทกับสตางค์
สตางค์ที่ออกมาใช้  ครั้งแรก มี 4 ขนาด คือ 20 , 10 , 5 และ 2 สตางค์ครึ่ง และประกาศยกเลิกใช้เงินพดด้วง
     2.2 การออกธนบัตร ประกาศใช้พระราชบัญญัติธนบัตร จัดตั้งกรมธนบัตรขึ้นเพื่อทำหน้าที่ออก ธนบัตรให้ได้มาตรฐาน ธนบัตรนั้นเดิมประกาศใช้มา   ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 แล้ว
     2.3เปรียบเทียบค่าเงินไทยกับมาตรฐานทองคำ ในพ.ศ.2451 ประกาศใช้พระราชบัญญัติมาตรฐานทองคำ กำหนดอัตราแลกเปลี่ยน 13 บาท เท่ากับ 1 ปอนด์ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากล




3.การตั้งธนาคาร มีบุคคลคณะหนึ่งร่วมมือก่อตั้งธนาคารของไทยแห่งแรกเรียกว่า
บุคคลัภย์ (Book Club) ได้รับพระราชทางพระบรมราชานุญาตจัดตั้งธนาคาร   จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายเรียกชื่อว่า แบงค์สยามกัมมาจล   (Siam Commercial Bank) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด

4.การทำงบประมาณแผ่นดิน ในพ.ศ.2439 รัชกาลที่ 5 โปรดให้มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อให้การรับจ่ายของแผ่นดินมีความรัดกุม โปรดให้แยกเงินส่วนแผ่นดินและส่วนพระองค์ออกจากกันอย่างเด็ดขาด โดยให้ พระคลังข้างที่ เป็นผู้ดูแลพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์

5.การปรับปรุงทางด้านการเกษตรและการชลประทาน มีการขุดคลองเก่าบางแห่งและขุดคลองใหม
่อีกหลายแห่ง เช่น คลองนครเนื่องเขต คลองดำเนินสะดวก คลองประเวศน์บุรีรัมย์ คลองเปรมประชา
คลองทวีวัฒนา สร้างประตูระบายน้ำ เพื่อช่วยส่งน้ำให้เข้าถึงพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูกได้ ด้านการป่าไม้
โปรดให้ตั้ง  กรมป่าไม้ ส่งเสริมให้ปลูกสวนสัก และส่งนักเรียนไทยไปศึกษาวิชาป่าไม้  ณ  ต่างประเทศ

                                 

6.การพัฒนาทาด้านคมนาคม การสื่อสาร ได้มีการสร้างถนนขึ้นหลายสาย คือ
ถนนเยาวราช ถนนราช   ดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินนอก ถนนบูรพา      ถนนอุณากรรณ ถนนดินสอ ส่วนสะพานข้ามคลองที่เชื่อมถนนต่างๆ ก็มี สะพานผ่านพิภพลีลา สะพานผ่านฟ้าลีลาศ สะพานมัฆวานรังสรรค์   สะพานเทวกรรมรังรักษ์
ในด้านการสื่อสาร ได้ทรงตั้งกรมไปรษณีย์ขึ้นเป็นครั้งแรก พ.ศ.2426  ในพ.ศ.2418 เปิดบริการโทรเลขสายแรกระหว่างกรุงเทพฯ – สมุทรปราการ
ด้านการสร้างทางรถไฟ มีการสร้างทางรถไฟเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ กับหัวเมือง      
ในส่วนภูมิภาค ได้แก่ ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ – นครราชสีมา  ทางรถไฟสายใต้              
ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ – สมุทรปราการ  กรุงเทพฯ – พระพุทธบาท         
กรุงเทพฯ–มหาชัย–ท่าจีน– แม่กลอง    สายบางพระแบะสายแปดริ้ว ฯลฯ
 
การปรังปรุงเศรษฐกิจในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2453 – 2468)
ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการปฏิรูปเศรษฐกิจต่อเนื่องมาจากสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1.การสนับสนุนการลงทุนธุรกิจอุตสาหกรรม ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน
การลงทุนจัดตั้งบริษัททำปูนซีเมนต์ สนับสนุนกิจการโรงไฟฟ้าสามเสน         ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนการจัดตั้งบริษัทพาณิชยนาวีสยาม
2.การส่งเสริมทางด้านการเกษตร เช่น จัดตั้งกรมทดน้ำเพื่อจัดหาน้ำไว้ใช้ใน
การเพาะปลูก ส่งเสริมการขุดลอกคูคลอง จัดตั้งสถานีทดลองพันธ์ข้าวที่     คลองหกรังสิต  จัดตั้งสหกรณ์การเกษตรแห่งแรก  ชื่อ  สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้   ที่อำเภอเมือง   จังหวัดพิษณุโลก

3.การจัดตั้งสถาบันการเงิน ได้มีการตั้งธนาคารออมสินขึ้น เพื่อรับฝากเงินของราษฎรและ
มีที่เก็บเงินโดยปลอดภัย และเพื่อประโยชน์ในการหมุนเวียนเงินตรา

4.การเปลี่ยนแปลงมาตราชั่ง ตวง วัด โปรดให้ประกาศใช้มาตราชั่ง ตวง วัด ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันแบบสากลโดยใช้ระบบของฝรั่งเศส

5.การปรับปรุงงานด้านการคมนาคม การขยายงานด้านรถไฟ โปรดให้ตั้งกรมรถไฟหลวงขึ้น และได้สร้าง
- เส้นทางรถไฟสายเหนือถึงเชียงใหม่ สายตะวันออกเฉียงเหนือถึงอุบลราชธานีและขอนแก่น สายตะวันออกถึงอรัญประเทศ และสายใต้ถึง  ปาดังเบซาร์ โดยเปิดสถานีหัวลำโพง สร้างสะพานพระราม 6 เพื่อเชื่อม    ทางรถไฟสายเหนือและสายใต้เข้าด้วยกัน สร้างทางรถไฟสายแรกระหว่างกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เปิดเดินรถไฟเส้นทางระยะแรกระหว่าง    กรุงเทพฯ-อยุธยา
-ด้านวิทยุโทรเลข โปรดให้กระทรวงทหารเรือ จัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขขึ้นที่ตำบลศาลาแดง กรุงเทพฯ
และที่สงขลา -การวางรากฐานการคมนาคมทางอากาศ จัดตั้งกรมอากาศยานขึ้น และมีการบินขั้นทดลองครั้งแรก สร้างสนามบินดอนเมือง

6.การจัดตั้งกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์
 ขึ้นอยู่กับกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ต่อมายกฐานะเป็นกระทรวงพาณิชย์
7.การยกเลิกหวย ก.ข. และการพนันบ่อนเบี้ย
รัชกาลที่ 6 โปรดให้ประกาศยกเลิก หวย ก.ข.

การปรับปรุงเศรษฐกิจในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2468-2484
เศรษฐกิจตกต่ำในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ ใน พ.ศ.2468       ปัญหาแรกที่ต้องทรงแก้ไขอย่างรีบด่วน คือ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ จึงมีการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ คือ ทรงวางระเบียบการใช้จ่ายเงินภายในพระราชสำนักเป็นอันดับแรก      ตัดทอนรายจ่ายฝ่ายราชการลงด้วยการลดจำนวนข้าราชการบริพารในกระทรวงวัง โดยเฉพาะ    
ในกรมมหาดเล็ก เพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่หน่วยราชการต่างๆ มีการดุลยภาพข้าราชการก่อนกำหนด โดยให้รับเบี้ยหวัดเบี้ยบำนาญแทน

สัปดาห์ที่ 19

วิธีการทางประวัติศาสตร์กับวิธีการทางวิทยาศาสตร์


    วิธีการทางประวัติศาสตร์ กับวิธีการทางประวัติศาสตร์ มีบางส่วนที่คล้ายคลึงกัน และมีบทส่วนแตกต่างกันดังนี้

     1. วิธีการทางประวัติศาสตร์มีการกำหนดประเด็นปัญหาเพื่อสืบค้นหาคำตอบ เช่นเดียวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่มีการสร้างสมมติฐานขึ้นแล้วทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐานนั้น

     2. วิธีการทางวิทยาศาตร์ใช้วิธีการสร้างสถานการณ์ใหม่หรือ ทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งขึ้น แต่นักประวัติศาสตร์ไม่สามารถสร้างสถานการณ์ขึ้นใหม่เหมือนกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในอดีตได้ เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตจะเกิดขึ้นคร้งเดียว มีลักษณะเฉพาะ

และไม่สามารถสร้างขึ้นซึ่งได้อีก แต่นักประวัติศาสตร์จะรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานอย่างหลากหลายตรวจสอบความน่าเชื่อถือของหลักฐาน จนกระทั่งได้ข้อมูลที่จะสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถอธิบายและสรุปหลักการได้

     3. การนำเสนอผลงานของนักวิทยาศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์ก็อาศัยหลักการความเป็นไปได้มาคาดคะเน และสรุปผลเช่นกัน แต่ผลสรุปทางวิทยาศาสตร์ จะสามารถนำไปทดลองซ้ำ ๆ ก็จะได้ผลเช้นนั้นทุกครั้ง แต่ผลสรุปทางประวัติศาสตร์ไม่สามารถนำไปลดทองได้ และมีความแตกต่างที่เป็น มิติของเวลา เช่นเดียวกับศาสตร์ทางสังคมอื่น ๆ ที่ไม่สามรารถควบคุมปัจจัยท่เป็นตัวแปลได้ทั้งหมด

    4. ประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ไม่สามารถนิยามคำเฉพาะเพราะความหมายจะไม่ชัดเจนตายตัวในทุกกาลและเทศะ เช่น ประชาธิปไตยของท้องถิ่นหนึ่ง กับอีกท้องถิ่นหนึ่งจะมีนัยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับผู้ใช้หรือผู้นิยาม ซึ่งแตกต่างกับวิทยาศาสตร์ที่สามารถให้นิยามคำเฉพาะที่มีความหมายตายตัวไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลา และสถานที่

สัปดาห์ที่ 18

วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย

            วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยวัฒนธรรมไทยนอกจากจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสังคมไทย หรือกลุ่มคนไทยแล้ววัฒนธรรมยังมีความสัมพันธ์กับเรื่องของเวลา หรืออีกนัยหนึ่งวัฒนธรรมไทยเป็นสิ่งที่จะต้องมีการวิวัฒนาการ ซึ่งเป็น ผลรวมของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองทางสังคมความหมายของวัฒนธรรม

            วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต (The way of life) ของคนในสังคม นับตั้งแต่วิธีกิน วิธีอยู่ วิธี แต่งกาย วิธีทำงาน วิธีพักผ่อน วิธีแสดงอารมณ์ วิธีสื่อความ วิธีจราจรและขนส่ง วิธีอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ วิธี แสดงความสุขทางใจ และหลักเกณฑ์การดำเนินชีวิต 
            โดยแนวทางการแสดงออกถึงวิถีชีวิตนั้นอาจเริ่มมาจาก เอกชนหรือคณะบุคคลทำเป็นตัวแบบ แล้วต่อมาคนส่วนใหญ่ก็ปฏิบัติสืบต่อกันมาวัฒนธรรมย่อมเปลี่ยนแปลง ไปตามเงื่อนไขและกาลเวลาเมื่อมีการประดิษฐ์หรือค้นพบสิ่งใหม่ วิธีใหม่ที่ใช้แก้ปัญหาและตอบสนองความ ต้องการของสังคมได้ดีกว่า ซึ่งอาจทำให้สมาชิกของสังคมเกิดความนิยม และในที่สุดอาจเลิกใช้วัฒนธรรมเดิม 
            ดังนั้นการรักษาหรือธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมเดิมจึงต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาวัฒนธรรมให้ เหมาะสมมีประสิทธิภาพตามยุคสมัย

ความหมายของภูมิปัญญาไทย

            ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรมของคนไทย โดยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อมและคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ถือเป็นกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิตของคนในการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว และการเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชนและสังคม 
            ตลอดจนเป็นพื้นฐานความรู้ในเรื่องต่างๆ ที่มีลักษณะเฉพาะหรือเอกลักษณ์ในตัวเองด้วยเหตุนี้ ถูมิปัญญาไทยจึงเป็นผลงานที่คนไทยได้ทำการศึกษาค้นคว้า รวบรวมและจัดเป็นความรู้ มีการถ่ายทอดและปรับปรุงจากคนรุ่นหนึ่งมาสู่คนคนอีกรุ่นหนึ่ง 
            จนเกิดเป็นผลผลิตที่ดี งดงาม มีคุณค่าเเละประโยชน์ รวมทั้งสามารถนำมาแก้ไขปัญหาและพัฒนาชีวิตได้ เช่นชาวนารู้จักขุดบ่อน้ำ หรือทำเหมืองฝายสำหรับเก็บน้ำและแจกจ่ายไปสู่ไร่นา หรือชาวบ้านมีความรู้เกี่ยวกับพืชพันธุ์ธัญญาหาร ผักพื้นบ้าน เครื่องเทศและสมุนไพร โดยสามารถ แยกแยะสรรพคุณในการรักษาโรค
            ด้วยเหตูนี้ เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับภูมิปัญญาไทย ก็จะเห็นได้ว่า ภูมิปัญญาไทยได้รับการสั่งสมสืบต่อกันมานั่นถือเป็นวัฒนธรรมไทยอย่างหนึ่ง

ที่มาของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย

            วัฒนธรรมเกิดขึ้นมาได้ด้วยอาศัยการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ดังนั้น วัฒนธรรมจึงเกิดมาจากคนไทย โดยคนไทยมีถิ่นฐานในดินแดนประเทศ ไทย มายาวนานได้ปฏิสัมพันธ์ต่อกันกับเชื้อชาติอื่นๆ ที่อยู่ในบริเวณนี้ 
            ซึ่งต่างก็รู้จักคิดและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม มีการไปมาหาสู่ระหว่างชนชาติทั้งในเรื่องการซื้อขายกัน การทำสงคราม การอพยพโยกย้ายที่ทำมาหากิน 
            ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้เกิดสิ่งที่เรียกว่า วัฒนธรรม ขึ้นหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ คนไทยไม่ว่าจะย้ายไปอยู่แห่งใด ก็ได้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆเพื่อให้ตนเองดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคม สิ่งเหล่านี้จึงเป็นที่มาของวัฒนธรรมนั่นเอง 
            สำหรับภูมิปัญญาไทย ก็มีความคล้ายกับวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาไทยมีที่มาจากคนและสิ่งที่คนไทยประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาหรือสร้างสรรค์ขึ้น เพื่อความสะดวกในการดำรงชีวิต รวมทั้งอาจได้จากบรรพบุรุษ ผู้ที่มีความรู้ด้านภูมิปัญญาไทย หรือได้มาจากชาวต่างชาติ แล้วนำมาผสมผสานกับวัฒนธรรมทำเดิมของไทยจนเกิดเป็นภูิมิปัญญาไทย

ปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อภูมิปัญญาไทย

             (1) ลักษณะทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยมีสภาพดินฟ้าอากาศที่หลากหลาย เช่น
            ภาคเหนือ พื้นที่เกือบทั้งหมดเป็นเทือกเขามีที่ราบน้อยใหญ่ระหว่างหุบเขาและสายน้ำไหลผ่านทำให้รู้จักเขื่อนเก็บน้ำที่ไหล จากที่สูงมาที่ราบ                ภาคกลาง เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำหลายสายไหลออกทะเล จากการที่มีสายน้ำหล่อเลี้ยงพื้นที่จดฝั่งทะเล ทำให้เกิดภูมิปัญญาต่อเรือเป็นพาหนะสำหรับการเดินทางและค้าขาย 
            ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นที่ราบสูงและมีแม่น้ำโขงไหลผ่านโดยมีสาขาคือแม่น้ำชีมูลทำให้บริเวณบางเเห้งแล้งน้ำแต่บางแห่งมีน้ำชุ่มชื่นทำให้เกิดภูมิปัญญาเลือกหลักแหล่งทำไร่ทำนาในบริเวณที่ลุ่ม และมีบึง หรือหนองน้ำขนาดใหญ่
            ภาคใต้ มีทะเลล้อมขนาบอยู่ทั้งทางตะวันออกและทางตะวันตก มีพื้นที่แหลมยาวไปจรดแหลมมลายูและมีฝนตกชุกมากภาคอื่นๆทำให้น้ำในนามีระดับสูง ขณะที่ฤดูเก็บเกี่ยว ข้าวสุกเต็มท้องที่ ชาวใต้จึงคิดประดิษฐ์เครื่องมือเกี่ยวข้าวที่เก็บเอาเฉพาะรวงข้าวเท่านั้น 

            จากสภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันดังกล่าว ทำให้ความสามารถในการปรับตัวของคนไทยแตกต่างกัน รวมทั้งการสั่งสมประสบการณ์การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทย สำหรับสืบทอดให้กับคนรุ่นหลัง 
            (2). ลักษณะร่วมและลักษณะแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมสามารถแบ่งออกได ้ 2 ลักษณะ ดังนี้
            2.1 ลักษณะร่วมทางสังคมและวัฒนธรรม คนไทยมีลักษณะร่วมทางสังคมและวัฒนธรรมที่เหมือนๆกัน เช่น มีข้าวเป็นพื้นฐานของชีวิต หรือมีความเชื่อและพิธีกรรมดั้งเดิมเหมือนกัน คือ ความเชื่อเรื่องผีสางนางไม้ประเภทต่างๆ เช่น ผีฟ้า ผีบรรพบุรุษ หรือมีความเชื่อในอำนาจและอิทธิปาฏิหารย์ของเทวดาต่างๆ เช่น พระแม่คงคา พระแม่ธรณี หรือมีความศรัทธาและได้รับอิทธิพลจากการสั่งสอนของพระพุทธศาสนาในการดำรังชีวิต 
            2.2 ลักษณะที่แตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม เนื่องจากภูมิประ เทศของเมืองไทยนั้นมีความแตกต่างกันทั้ง 4 ภาค ดังนั้น ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมจึงแตกต่างกันไปด้วย เช่น 
            คนทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือชอบรับประทานข้าวเหนียว
            ภาคกลางและภาคใต้ ชอบรับประทานข้่าวเจ้า เป็นต้น 

            สภาพลักษณะปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ สืบเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่มีผลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยอิทธิพลภายนอกที่มีผลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทย
            นอกจากปัจจัยพื้นฐานดังกล่าวแล้วลักษณะของภูมิปัญญาไทยอาจจะได้รับอิทธิพลมาจากภายนอกด้วยเช่นกัน เช่น การรับภูมิปัญญาจากชาวต่างชาติที่เข้ามาติดต่อค้าขายด้วย 
            โดยคนไทยได้รับมาเเละเรียนรู้ เช่น คนไทยในปัจจุบันได้รับวัฒนธรรมภาษาไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยได้รับอิทธิพลมาจากอักษรขอม แต่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเขียน ให้สอดคล้ิองกับสถานการณ์ในแต่ละยุคสมัยเป็นต้น
            ด้วยเหตุนี้ในการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทย นอกจากจะอาศัยวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนไทยแล้วต้องยังอาศัยอิทธิพลจากภายนอก เช่น ชาวต่างชาติต่างภาษา หรือจากบุคคลอื่นในชุมชนนั้นๆ 

ลักษณะของภูมิปัญญาไทย

            ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะของความรู้ความสามารถในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสังคมไทยและคนไทยอย่างได้ผลและยั่งยืน สอดคล้องกับธรรมชาติและวิถีชีวิตของคนไทย 
            ดังนั้นจึงต้องเข้าใจว่าภูมิปัญญาไทยในประวัติศาสตร์ไทยได้นำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของคนไทยในสมัยโบราณ 
            รวมทั้งภูมิปัญญาไทยบางอย่างได้มีการสืบสานเป็นมรดกตกทอดมายังคนไทยในสมัยปัจจุบันด้วย  

สำหรับลักษณะของภูมิปัญญาไทยที่เด่นๆ 

สามารถแยกออกได้ 4 ลักษณะ ได้ดังนี้
            ภูมิปัญญาไทยทางด้านการเมืองการปกครองสำหรับภูมิปัญญาไทยทางด้านการเมืองการปกครอง มีดังต่อไปนี้

            1. ) การสร้างสถาบันพระมหากษัตริย์ให้อยู่คู่กับสังคมไทย ภูมิปัญญาทางด้านการเมืองการปกครองของประเทศไทยที่สืบทอดมาถึงปัจจุบันนี้ คือ การสร้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้มีการเข้มแข็ง และมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพของปวงชนชาวไทย จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของสังคมไทย รวมทั้งการเป็นศูนย์กลางความร่วมมือร่วมใจของชาวไทยทั้งหมด 
            2. ) การควบคุมกำลังคน การสร้างบ้านแปลงเมืองในสมัยโบราณ สิ่งสำคัญการหนึ่ง คือ การหาวิธีคุมกำลังคนให้ดำรงอยู่ร่วมกันเป็นบ้านเมืองอย่างมีระเบียบเพื่อความมั่นคงของอาณาจักร เนื่องจากสมัยโบราณไพร่พลยังมีไม่มากนัก จึงจำเป็นต้องมีแรงงานเอาไว้ใช้ในราชการ 
            ดังนั้น การที่ผู้ปกครองของคนไทยในสมัยโบราณได้รู้จักการวางระบบควบคุมกำลังคน ที่เรียกว่า ระบบไพร่ จึงนับได้ว่าเป็นภูมิปัญญาไทยอย่างหนึ่งการรู้จักการแก้ปัญหาในการดำรงชีวิตในการดำรงชิตขิงคนไทยในสภาพแวดล้อมและธรรมชาติในสมัยสุโขทัยจนมาถึงสมัยปัจจุบัน มักจะพบปัญหาอยู่เสมอ เช่น สภาพภูมิประเทศสำหรับสร้างเมืองราชธานี การแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ หรือการรักษาโรคภัย เป็นต้น 
            อย่างไรก็ตามคนไทยรู้จักการดัดแปลงแก้ไขสภาพแวดล้อมหรืออาศัยธรรมชาติเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี
            1. ) การแสวงหาทำเลในการสร้างราชธานี ในการสร้างเมืองราชธานีนั้นนอกจะต้องคำนึงถึงยุทธศาสตร์การปกครองแล้ว ในขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงการดำรงชีวิตของพลเมืองด้วย 
            เพราะพลเมืองจะต้องมาหากิน ทั้งในด้านการเพาะปลูก และการค้าขายแลกเปลี่ยนผลผลิตต่างๆ ในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานีมักอยู่ใกล้แม่น้ำยม และอยู่ใกล้เคียงแม่น้ำปิง และแม่น้ำวัง 
            ซึ่งสะดวกแก่การค้าขายแลกเปลี่ยนกับแคว้นต่างๆ ทางตอนเหนือขึ้นไป และแคว้นทางใต้ลงมา ที่ติดกับชายทะเลด้วย
            ในสมัยอยุธยา มีการตั้งราชธานีบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ และอยู่ใกล้กับอ่าวไทย จึงเหมาะแก่การเพาะปลูกและค้าขายกับต่างชาติ 
            สำหรับสมัยรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีอยู่ติดกีบแม่น้ำเจ้าพระยาและอ่าวไทย จึงเหมาะแก่การดำรงชีวิตของไพร่พลที่ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการเพาะปลูกและค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า และผลิตผลทั้งในและนอกอาณาจักร 

วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยที่สำคัญ

            ตัวอย่างของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยที่สำคัญ

            ลายสือไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหง การประดิษฐ์ลายสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงใน พ.ศ. 1826 ในศิลาจารึกหลักที่ 1 มีข้อความว่า “เมื่อก่อนลายสือไทยนั้น ปี 1205 ศก ปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทนี้จึงมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้”
            การที่คนไทยมีตัวหนังสือเป็นของตนเอง ทำให้ทราบถึงภูมิปัญญาไทยในการสร้างชาติและผนึกกำลังในการรวมชาติที่สำคัญ ตัวอักษรไทยทำให้คนไทยจากถิ่นต่าง ๆ มีความสามัคคี มีความรู้สึกในการเป็นชาติเดียวกัน ทำให้อาณาจักรเป็นปึกแผ่นมากขึ้น 

            การทำบุญบั้งไฟ การทำบุญบั้งไฟของภาคอีสาน มีจุดประสงค์เพื่อขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล แสดงถึงภูมิปัญญาไทยที่แสดงออกในด้านจิตใจ คือ การสร้างขวัญและกำลังใจแก่ชาวบ้าน เพื่อขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์อุดมสมบูรณ์ 
            วัฒนธรรมด้านวัตถุที่แสดงออกถึงภูมิปัญญาไทยของการทำบุญบั้งไป คือ การรู้จักใช้กระบอกไม้ไผ่บรรจุเชื้อเพลิงทำด้วยดินปืน สำหรับจุดไฟพุ่งไปในอากาศ กระบอกท่อนหัวเป็นการบรรจุเชื้อเพลิงซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าช่วงกลาง เป็นต้น

            เรือนไทย เรือนไทยมีอยู่ 2 ชนิด คือ เรือนเครื่องผูกและเรือนเครื่องสับ เรือนเครื่องผูก หมายถึง เรือนที่ก่อสร้างแบบง่าย ๆ ใช้วัสดุส่วนใหญ่เป็นไม้ไผ่และหวายสำหรับผูกรัดส่วนต่าง ๆ ของตัวเรือน ฝาเรือนเป็นฝาขัดแตะ เรือนเครื่องสับ เป็นเรือนไม้จริง 
            หรือที่เรียกกันว่า เรือนฝากระดาน ที่เรียกว่าเรือนเครื่องสับเพราะเครื่องมือที่ใช้ส่วนใหญ่ ได้แก่ มีดเหน็บ หรือมีดตอกชนิดหัวใหญ่ ขวาน สิ่ว ชนิดต่าง ๆ จึงเรียกกันว่า เรือนเครื่องสับ
            เรือนไทย แสดงถึงภูมิปัญญาไทยที่สร้างบ้านด้วย ทรัพยากรธรรม ชาติที่มีอยู่ การสร้างบ้านทรงไทยที่มีลักษณะหลังคาลาดลงรองรับการไหลของน้ำฝน และบ้านที่โปร่งมีใต้ถุน เพราะภูมิอากาศอยู่ในเขตร้อนชื้น มีฝนตกบ่อย
            ในปัจจุบันรัฐบาลได้กำหนดเรื่องของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไว้ในสาระสำคัญของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ในมาตรา 7,มาตรา 23, มาตรา 27 และมาตรา 29
            ในแต่ละท้องถิ่นของไทย มีวัตถุดิบที่สร้างเป็นผลผลิตมากมายจนรัฐบาลมีนโยบายโครงการต่าง ๆ ที่สนับสนุนภูมิปัญญาไทยให้ประชากรนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาแปรรูป 
            สร้างคุณค่าออกขายนำรายได้เข้าสู่ท้องถิ่น และเป็นการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทยผลิตผลภูมิปัญญาไทยหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
            ปัจจุบันได้มีผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่นจากโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายมากมาย ได้แก่ สินค้าจากโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

รายการ แหล่งผลิตภัณฑ์
1. ข้าวเกรียบสายรุ้ง บ้านท่ามะกา กาญจนบุรี
2. งานจักสานผักตบชวา บ้านลานแหลม นครปฐม
3. ดอกไม้ประดิษฐ์ดินหอม ต.ท่าศาลา ลพบุรี
4. ชาสมุนไพร เกษตรกรป่าโมก อ่างทอง
5. ดอกไม้ใยบัว ต.ห้วยกะปิ ชลบุรี
6. น้ำทานตะวัน เขื่อนป่าสัก ลพบุรี
7. ทอผ้าตีนจก ต.หนองมะโมง ชัยนาท
8. เพาะเห็ดนางฟ้าแปรรูป ต.ป่าคา น่าน
9. จักสานทองเหลือง ต.ท่าไข่ ฉะเชิงเทรา
10. หัตถกรรมผ้าบาติก ต.กะลุวงเหนือ นราธิวาส
11. ผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว ต.ปาดังเบซาร์ สงขลา
12. ผลิตภัณฑ์จากเกล็ดปลา ต.เขารูปช้าง สงขลา
13. ผลิตภัณฑ์หมอน ต.โพธิ์ไทร ยโสทร
14. กล้วยบาร์บีคิว ต.ใบคลองบางปลากด สมุทรปราการ
15. ปลาร้าสับสมุนไพร ต.ยายชา นครปฐม
16. ไวน์องุ่นป่า ต.ท่าเกวียน 

            สระแก้วงานบุญเทศน์มหาชาติ ประเพณีที่ทำสืบทอดกันมาแต่โบราณเชื่อกันว่า หากผู้ใดได้ฟังเทศน์ผะเหวด หรือเทศน์มหาชาติจบทั้ง 13 กัณฑ์และนครกัณฑ์) ภายในวันเดียวและบำเพ็ญความดีผลบุญที่ผู้นั้นได้กระทำลงไป) จะส่งให้บุคคลนั้นได้ไปเกิดร่วมชาติเดียวกับพระพุทธเจ้า

            ประเพณี “ปอยส่างลอง” หรือ “ประเพณีบวชลูกแก้ว” เป็นประเพณีประจำปีของชาวไต หรือไทยใหญ่เกือบทั้งหมดของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเพณีนี้เป็นการนำเด็กชาย ที่มีอายุครบบวชเข้าบรรพชาเป็นสามเณร เพื่อกล่อมเกลาให้เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีต่อไปประเพณีสงกรานต์ 
            ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณช่วงวันสงกรานต์จึงเป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรัก ความผูกพัน ที่มีต่อกันทั้งในครอบครัว ชุมชน สังคม และ ศาสนา

            พิธีแรกนาขวัญ หรือ”พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ” เป็นพระราชประเพณีสำคัญ ที่ทำเพื่อเสริมสร้างให้เกิดขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกรของชาติ ความหมายของพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญก็เพื่อต้องการให้พืชพันธุ์ธัญญาหารในพระราชอาณาจักรอุดมสมบูรณ์ตลอดฤดูกาลที่ทำการเพาะปลูก

        งานตานก๋วยสลาก หรือกิ๋นก๋วยสลาก หรือกิ๋นข้าวสลาก เป็นประเพณีคล้ายกับสลากภัตรของชาวไทยภาคกลาง ต่างกันในด้านการปฏิบัติและพิธีกรรมเล็กน้อย แต่ส่วนใหญ่แล้วคือการให้ทาน ถวายข้าวของให้แก่ ภิกษุสามเณร เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปสู่ปรโลก รวมไปถึงเจ้ากรรมนายเวร และสามารถจะอุทิศผลานิสงฆ์นี้ไปเป็นเนื้อนาบุญให้กับตัวเองในภายภาคหน้า ซึ่งเป็นความเชื่อมาแต่บรรพบุรุษ เพื่อว่าชาติหน้าจะได้มีกินมีใช้ มั่งมีศรีสุข 

ปัญหาภูมิปัญญาไทย 


            (1) สูญหายและถูกทำลาย ชาติไทยมีภูมิปัญญาของตนเองมาดั้งเดิมตั้งแต่อดีตนานนับพันปี แต่เนื่องจากระบบการศึกษา สงคราม การถ่ายทอดภูมิปัญญาของเราในอดีตจึงมีปัญหามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ ทำให้เรามีตำราเหลือเพียงบางสาขา เช่น ตำรายาไทย ตำราการช่าง หลายอย่างสูญหายไปเพราะภัยสงคราม และความขัดแย้งทางการเมือง ทำให้ภูมิปัญญาไทยถูกทำลาย ฉะนั้นภูมิปัญญาไทยจึงเหลือตกทอดเพียงภูมิปัญญาการใช้ชีวิตประจำวันของชาวบ้านที่นำเอาประสบการณ์มาใช้ในการตอบสนองต่อความจำเป็นในชีวิต
            (2) ขาดเทคนิคพัฒนาการ การสั่งสมและถ่ายทอด  ภูมิปัญญาไทยมีจุดอ่อนที่สำคัญ คือ การขาดเทคนิคการทำงานและการถ่ายทอดอย่างเป็นระบบ เช่น การถ่ายทอดภูมิปัญญามักทำในหมู่ญาติหรือพวกพ้อง ไม่ถ่ายทอดให้กับบุคคลภายนอก ทำให้ภูมิปัญญาหลายอย่างตายไปกับครู การขาดระบบการถ่ายทอด อาทิ การตั้งโรงเรียนฝึกหัด การไม่ได้รับการสนับสนุนจากสังคม
            (3) นิสัยการเลียนแบบ นิสัยคนไทยชอบซื้อหรือเลียนแบบต่างชาติ วิชาการหลายอย่าง จึงไม่ค่อยพัฒนา มีลักษณะเลียนแบบมากกว่าประดิษฐ์คิดค้นด้วยตนเอง
            (4) การครอบงำทางภูมิปัญญาจากต่างชาติ ในอดีต 100 ปีที่ผ่านมาไทยต้องเผชิญกับศัตรูชาติตะวันตก ที่มาทางเรือพร้อมอาวุธที่มีประสิทธิภาพมาก ไทยจึงตระหนักว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดั้งเดิมของเรานั้นไม่ทันกับความก้าวหน้าของโลกภายนอก แทนที่จะเร่งพัฒนาภูมิปัญญาของเราเอง เรากลับตัดสินใจใช้วิธีการและทรัพยากรของชาติแลกซื้อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างชาติ ในที่สุดไทยกลายเป็นลูกค้าถาวร เพราะขาดการพัฒนาภูมิปัญญาของตนเองอย่างเป็นระบบ 

แนวทางการพัฒนาภูมิปัญญาไทย

            (1) พัฒนาภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ชาวชนบทคิดค้นขึ้นมาเองให้ดียิ่งขึ้น โดยประยุกต์ภูมิปัญญาต่างชาติอย่างระมัดระวัง
            (2) ถ่ายทอดภูมิปัญญาต่างชาติผ่านองค์กรระหว่างประเทศ รัฐบาล ด้วยความระมัดระวัง โดยการศึกษาค้นคว้าข้อดีข้อเสียของภูมิปัญญานั้นอย่างละเอียดก่อนนำมาประยุกต์ใช้
            (3) ตั้งองค์กรดูแล พัฒนา จัดระบบรักษาภูมิปัญญาไทยมิให้ถูกลอกเลียนแบบ จดสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์
            (4) ส่งเสริมคนไทยในการคิดค้นพัฒนาภูมิปัญญาไทยอย่างจริงจัง
            (5) สร้างค่านิยมให้คนไทยเห็นคุณค่า หวงแหน รักษาภูมิปัญญาไทยภูมิปัญญานานาชาติภูมิปัญญานานาชาติ

            ประเทศไทยมีสัมพันธไมตรีกับต่างชาติตั้งแต่ครั้งโบราณยุคสุโขทัยเป็นต้นมาจึงได้รับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของนานาชาติมาผสมผสานกับวัฒนธรรมไทย

            ตัวอย่างของภูมิปัญญานานาชาติ เช่น การสร้างบ้านตึกแบบทรงยุโรป ซึ่งเป็นลักษณะบ้านค่อนข้างทึบเพราะมีอากาศหนาวเย็น การสร้างเก๋งจีน การแต่งกายใส่สูทแบบยุโรป การนำรถยนต์มาใช้เพื่อความสะดวก ตลอดจนเทคโนโลยีระบบสารสนเทศต่างๆ จนถึงคอมพิวเตอร์ซึ่งแสดงถึงภูมิปัญญาที่ล้ำเลิศของมนุษย์
            วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของนานาชาติที่เผยแพร่ไปทั่วโลก มักจะเกี่ยวข้องกับวิทยาการที่นำสมัยในเรื่องการแพทย์ การคิดค้นเรื่องยาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี การประดิษฐ์สิ่งอำนวยความสะดวก สถาปัตยกรรม การออกแบบ การนันทนาการและบันเทิง การสื่อสารและคมนาคม เป็นต้น
            วัฒนธรรมและภูมิปัญญาอันเกิดจากการคิดค้นของนานาชาติและมนุษยชาติยังคงมีต่อไปอย่างต่อเนื่องตราบเท่าที่มนุษย์ยังเป็นผู้ใฝ่เรียนใฝ่รู้และช่างคิดค้น แสวงหาสิ่งที่มาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างไม่มีวันจบสิ้น 
            ส่วนบนของฟอร์มสังคม วัฒธรรมและภูมิปัญญาไทยสังคมไทยเป็นสังคมที่สงบ มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกันมีความเคารพผู้ใหญ่ 
            มีวัฒนธรรมประเพณีภูมิปัญญาเป็นของตนเองไม่ว่าจะเป็นภาษา การแต่กาย อาหารการกิน การละเล่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ
            และนอกจากนี้ยังได้มีการรับเอาวัฒนธรรมขอชาติอื่นมาผสมผสานและดัดแปลงให้เหมาะสมกับสังคมไทยจนกลายเป็นวัฒนธรรมของไทยคุณสมบัติของผู้ทรงภูมิปัญญาไทยตามที่กำหนดไว้ 
            พระยาอนุมานราชธนปราชญ์ไทยผู้ได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลกผู้ทรงภูมิปัญญาไทยเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ อย่างน้อยดังต่อไปนี้ 
            ๑. เป็นคนดีมีคุณธรรม มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพต่างๆ มีผลงานด้านการพัฒนาท้องถิ่นของตน และได้รับการยอมรับจากบุคคลทั่วไปอย่างกว้างขวาง ทั้งยังเป็นผู้ที่ใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนาของตนเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในการดำรงวิถีชีวิตโดยตลอด
            ๒. เป็นผู้คงแก่เรียนและหมั่นศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ผู้ทรงภูมิปัญญาจะเป็นผู้ที่หมั่นศึกษา แสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอไม่หยุดนิ่งเรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบ เป็นผู้ลงมือทำโดยทดลองทำตามที่เรียนมา
            ๓. เป็นผู้นำของท้องถิ่น ผู้ทรงภูมิปัญญาส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่สังคม ในแต่ละท้องถิ่นยอมรับให้เป็นผู้นำ ทั้งผู้นำที่ได้รับการแต่งตั้งจากทางราชการ และผู้นำตามธรรมชาติ ซึ่งสามารถเป็นผู้นำของท้องถิ่นและช่วยเหลือผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
            ๔. เป็นผู้ที่สนใจปัญหาของท้องถิ่น ผู้ทรงภูมิปัญญาล้วนเป็นผู้ที่สนใจปัญหาของท้องถิ่น เอาใจใส่ ศึกษาปัญหา หาทางแก้ไข และช่วยเหลือสมาชิกในชุมชนของตนและชุมชนใกล้เคียงอย่างไม่ย่อท้อ จนประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับของสมาชิกและบุคคลทั่วไป
            ๕. เป็นผู้ขยันหมั่นเพียร ผู้ทรงภูมิปัญญาเป็นผู้ขยันหมั่นเพียร ลงมือทำงานและผลิตผลงานอยู่เสมอ ปรับปรุงและพัฒนาผลงานให้มีคุณภาพมากขึ้นอีกทั้งมุ่งทำงานของตนอย่างต่อเนื่อง
            ๖. เป็นนักปกครองและประสานประโยชน์ของท้องถิ่น ผู้ทรงภูมิปัญญา นอกจากเป็นผู้ที่ประพฤติตนเป็นคนดี จนเป็นที่ยอมรับนับถือจากบุคคลทั่วไปแล้ว ผลงานที่ท่านทำยังถือว่ามีคุณค่า จึงเป็นผู้ที่มีทั้ง “ครองตน ครองคน และครองงาน”
            ๗. มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้เป็นเลิศ เมื่อผู้ทรงภูมิปัญญามีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์เป็นเลิศ มีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและบุคคลทั่วไป ทั้งชาวบ้าน นักวิชาการ นักเรียน นิสิต/นักศึกษา โดยอาจเข้าไปศึกษาหาความรู้ หรือเชิญท่านเหล่านั้นไป เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ได้
            ๘. เป็นผู้มีคู่ครองหรือบริวารดี ผู้ทรงภูมิปัญญา ถ้าเป็นคฤหัสถ์ จะพบว่า ล้วนมีคู่ครองที่ดีที่คอยสนับสนุน ช่วยเหลือ ให้กำลังใจ ให้ความร่วมมือในงานที่ท่านทำ ช่วยให้ผลิตผลงานที่มีคุณค่า ถ้าเป็นนักบวช ไม่ว่าจะเป็นศาสนาใด ต้องมีบริวารที่ดี จึงจะสามารถผลิตผลงานที่มีคุณค่าทางศาสนาได้
            ๙. เป็นผู้มีปัญญารอบรู้และเชี่ยวชาญจนได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์ ผู้ทรงภูมิปัญญาต้องเป็นผู้มีปัญญารอบรู้และเชี่ยวชาญ รวมทั้งสร้างสรรค์ผลงานพิเศษใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ คุณค่าทางด้านการสร้างความภาคภูมิใจและศักดิ์ศรี เกียรติภูมิแก่คนไทย คนไทยในอดีตที่มีความสามารถปรากฏในประวัติศาสตร์มีมาก เป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศ เช่น 

            นายขนมต้มเป็นนักมวยไทยที่มีฝีมือเก่งในการใช้อวัยวะทุกส่วน ทุกท่าของแม้ไม้มวยไทย สามารถชกมวยไทย จนชนะพม่าได้ถึงเก้าคนสิบคนในคราวเดียวกัน แม้ในปัจจุบันมวยไทยก็ยังถือว่า เป็นศิลปะชั้นเยี่ยม เป็นที่นิยมฝึก และแข่งขันในหมู่คนไทยและชาวต่างประเทศ ปัจจุบันมีค่ายมวยไทยทั่วโลกไม่ต่ำกว่า 30,000 แห่ง ชาวต่างประเทศที่ได้ฝึกมวยไทยจะรู้สึกยินดีและภาคภูมิใจ ในการที่จะใช้กติกาของมวยไทย เช่น การไหว้ครูมวยไทย การออกคำสั่งในการชกเป็นภาษาไทยทุกคำ เช่น คำว่า “ชก” “นับหนึ่งถึงสิบ” เป็นต้น ถือเป็นมรดกภูมิปัญญาไทย 
            นอกจากนี้ ภูมิปัญญาไทยที่โดดเด่นยังมีอีกมากมาย เช่น มรดกภูมิปัญญาทางภาษาและวรรณกรรม โดยที่มีอักษรไทยเป็นของตนเองมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และวิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน 
            วรรณกรรมไทยถือว่าเป็น วรรณกรรมที่มีความไพเราะ ได้อรรถรสครบทุกด้าน วรรณกรรม หลายเรื่องได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา 
            ด้านอาหาร อาหารไทยเป็นอาหารที่ปรุงง่าย พืชที่ใช้ประกอบอาหารส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นและราคาถูก มีคุณค่าทางโภชนาการ และยังป้องกันโรคได้หลายโรค เพราะส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร เช่น ตะไคร้ ขิง ข่า กระชาย ใบมะกรูด ใบโหระพา ใบกะเพรา เป็นต้น

การอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย

            1. การค้นคว้าวิจัย ควรศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาของไทยในด้านต่างๆ ของท้องถิ่น จังหวัด ภูมิภาค และประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิปัญญาที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น มุ่งศึกษาให้รู้ความเป็นมาในอดีต และสภาพการณ์ในปัจจุบัน
            2. การอนุรักษ์ โดยการปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ สร้างจิตสำนึกของความเป็นคนท้องถิ่นนั้นๆ ที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น รวมทั้งสนับสนุนให้มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้น เพื่อแสดงสภาพชีวิตและความเป็นมาของชุมชน อันจะสร้างความรู้และความภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นด้วย
            3. การฟื้นฟู โดยการเลือกสรรภูมิปัญญาที่กำลังสูญหาย หรือที่สูญหายไปแล้วมาทำให้มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในท้องถิ่น โดยเฉพาะพื้นฐานทางจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม
            4. การพัฒนา ควรริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงภูมิปัญญาให้เหมาะสมกับยุคสมัยและเกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยใช้ภูมิปัญญาเป็นพื้นฐานในการรวมกลุ่มการพัฒนาอาชีพควรนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อต่อยอดใช้ในการผลิต การตลาด และการบริหาร ตลอดจนการป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
            5. การถ่ายทอด โดยการนำภูมิปัญญาที่ผ่านมาเลือกสรรกลั่นกรองด้วยเหตุและผลอย่างรอบคอบและรอบด้าน แล้วไปถ่ายทอดให้คนในสังคมได้รับรู้ เกิดความเข้าใจ ตระหนักในคุณค่า คุณประโยชน์และปฎิบัติได้อย่างเหมาะสม โดยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ 
            6. ส่งเสริมกิจกรรม โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการสืบสานและพัฒนาภูมิปัญญาของชุมชนต่างๆ เพื่อจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
            7. การเผยแพร่แลกเปลี่ยน โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาและวัฒนธรรมอย่างกว้างขวางโดยให้มีการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ ด้วยสื่อและวิธีการต่างๆ อย่างกว้างขวาง รวมทั้งกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
            8. การเสริมสร้างปราชญ์ท้องถิ่น โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของชาวบ้าน ผู้ดำเนินงานให้มีโอกาสแสดงศักยภาพด้านภูมิปัญญา ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ มีการยกย่องประกาศเกียรติคุณในลักษณะต่างๆ แนวทางในการนำภูมิปัญญาไทยไปใช้ในการดำเนินชีวิต – ภูมิปัญญาที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติจะแสดงออกมาในลักษณะการดำเนินชีวิตภายใต้พื้นฐานด้านปัจจัย 4
            - ภูมิปัญญาที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนอื่นในสังคมจะแสดงออกมาในลักษณะจารีตประเพณี นันทนาการ การสื่อสารต่างๆ
            - ภูมิปัญญาที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติจะแสดงออกมาในลักษณะของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ศาสนา และความเชื่อการดำเนินชีวิตแบบภูมิปัญญาไทย เน้นชีวิตที่เรียบง่าย พออยู่พอกินพึ่งพาตนเองได้ ใช้แนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียง 

ประเภทของวัฒนธรรม

            – วัฒนธรรมทางภาษา ซึ่งก็หมายถึงสำเนียงการพูด ภาษาพูดรวมถึงการ เขียนด้วย
            – วัฒนธรรมทางวัตถุ ซึ่งก็คือยวดยานพาหนะ ที่อยู่อาศัย ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายให้กับชีวิตประจำวันนั่นเอง
            – วัฒนธรรมทางจิตใจ เช่นศาสนา ความเชื่อ ศีลธรรม จริยธรรม ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
            – วัฒนธรรมทางจารีตและขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น การทักทายด้วยการไหว้ มารยาทการกิน การเดิน การแต่งกาย ประเพณีแต่งงานเป็นต้น
            – วัฒนธรรมทางสุนทรียะ ซึ่งก็ได้แก่ศิลปะสาขาต่างๆ ที่มีความไพเราะ ความสวยงาม เช่น นาฏศิลป์ จิตรกรรม ดนตรี การแสดงต่างๆ เป็นต้น วัฒนธรรมทางสุนทรียะได้แก่ศิลปะสาขาต่างๆที่มีความไพเราะความสวยงาม เช่น นาฏศิลป์ จิตรกรรม ดนตรี การแสดงต่างๆ เป็นต้น

ตัวอย่างวัฒนธรรมทางสุนทรียะ

            โขน การแสดงอีกอย่างหนึ่งที่ใช้ท่ารำ และแสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับ วิธีการทุกอย่างเหมือนละคร แต่ไม่เรียกว่าละคร การแสดงที่จะกล่าวนี้เรียกว่า “โขน” การแสดงที่ใช้ท่ารำตามแบบละครใน แต่เพิ่มท่ารำที่มีตัวแสดงแปลกออกไป กับเปลี่ยนทำนองเพลงที่ดำเนินเรื่องไม่ให้เหมือนละคร
โขน มีลักษณะสำคัญอยู่ที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขนหมดทุกตัว ยกเว้นตัวนาง พระ และเทวดา ในสมัยโบราณตัวพระและตัวเทวดาก็สวมหัว ภายหลังจึงเปลี่ยนแปลงให้ตัวพระและตัวเทวดาไม่ต้องสวมหัว คงใช้หน้าของผู้แสดงเช่นเดียวกับละครนาฏศิลป์ หมายถึง ศิลปะของการฟ้อนรำ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยความประณีตงดงามเพื่อให้ความบันเทิงให้ผู้ที่ได้ดูมีความรู้สึกคล้อยตาม การร่ายรำนี้ต้องอาศัยเครื่องดนตรีและ การขับร้อง นาฏศิลป์ถือเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง และเป็นสาขาหนึ่งของศิลปะสาขาวิจิตรศิลป์
            นาฏศิลป์ถือเป็นแหล่งรวมศิลปะและการแสดงไว้ด้วยกัน โดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลางในการคิดสร้างสรรค์ อนุรักษ์และสืบทอดต่อไป 

            ประวัติวันขึ้นปีใหม่ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณ ถือเอาวันแรมหนึ่งค่ำ เดือนอ้าย (เดือนหนึ่ง) เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับคติทางพระพุทธศาสนา ที่เริ่มฤดูหนาว (เหมันต์) เป็นจุดเริ่มต้นของปีต่อมา จารีตดังกล่าวได้แปรเปลี่ยนไปตามคติของพราหมณ์ ซึ่งใช้วันขึ้นหนึ่งค่ำเดือนห้าเป็นวันขึ้นปีใหม่ ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดเป็นการนับวัน เดือน ปี แบบจันทรคติ คือการใช้การโคจรของดวงจันทร์เป็นเกณฑ์ ต่อมาเมื่อทางราชการเปลี่ยนมาใช้แบบสุริยคติ คือใช้ดวงอาทิตย์เป็นเกณฑ์ จึงได้ถือเอา วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ.2432
            วันขึ้นปีใหม่ของนานาอารยประเทศ ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งเป็นการนับตามสุริยคติ เมื่อประเทศไทยซึ่งเดิมใช้วันแรมหนึ่งค่ำ เดือนอ้าย ของไทย เป็นวันขึ้นปีใหม่ นับว่าเป็นห้วงระยะเวลาใกล้เคียง กับวันที่ 1 มกราคม จึงเห็นว่าการที่ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยเป็นการเหมาะสมดังนี้
            ตามทางดาราศาสตร์ การกำหนดอาศัยหลัก 2 ประการ คือ ใช้หลักวันที่ดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรมากที่สุด ซึ่งจะตกประะมาณ วันที่ 22 ธันวาคม อีกประการหนึ่งใช้หลักวันที่ดวงอาทิตย์ อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมากที่สุด ซึ่งจะตกประมาณวันที่ 20 มีนาคม ประเทศไทยเคยใช้หลักประการแรกมาก่อน คือใช้เดือนอ้าย แรมหนึ่งค่ำ ซึ่งใกล้เคียงกับวันที่ 22 ธันวาคม
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้ทรงอธิบายไว้เป็นใจความว่า ฤดูหนาวเป็นเวลาที่พ้นจากมืดฝน สว่างขึ้นเหมือนเวลาเช้า โบราณจึงถือเป็นต้นปี ฤดูร้อนเป็นเวลาสว่างเต็มที่เหมือนเวลากลางวัน โบราณจึงถือเป็นกลางปี ส่วนฤดูฝนเป็นห้วงเวลาที่มืดครื้ม เหมือนกลางคืน โบราณจึงถือเป็นปลายปี จึงได้เริ่มเดือนหนึ่งที่เดือนอ้าย และไทยโบราณถือการเริ่มข้างแรมเป็นต้นเดือน
            มีผู้ค้นพบว่า คติที่นับวันใดวันหนึ่งในห้วงระยะเวลาระหว่างวันที่ 21 เดือนธันวาคม ถึงวันที่ 1 เดือนมกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่นี้ เป็นคติเก่าแก่ของชนชาติที่อยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือสุวรรณภูมิ ด้วยเหตุผลที่พออธิบายได้ว่าในระยะเวลาดังกล่าวนี้ เป็นเวลาที่แลเห็นดวงอาทิตย์มีขนาดโตที่สุด และเป็นเวลาที่อากาศเริ่มเย็นสบายหลังจากที่หมดฤดูฝนแล้ว ประเทศไทยเราอยู่ในย่านกลางของพื้นที่ดังกล่าว จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ชาติไทยเราได้มีวันขึ้นปีใหม่ตามคติดังกล่าวมาแต่โบราณกาล
            จากการตรวจสอบในห้วงระยะเวลา 30 ปี จากปี พ.ศ. 2453 ถึงปี พ.ศ. 2483 พบว่าวันแรมหนึ่งค่ำ เดือนอ้าย เมื่อเทียบกับวันทางสุริยคติแล้วจะอยู่ในเดือนธันวาคม และส่วนใหญ่จะอยู่ห่างจากวันที่ 1 มกราคม ไม่เกิน 10 วัน ห่างกันมากที่สุด 30 วัน และห่างน้อยที่สุดเพียง 2วัน เท่านั้น
อินเดียในสมัยโบราณก็ได้เคยใช้วันที่ 1 เดือนมกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่มาแล้วเรียกว่ามกรสงกรานต์
            การที่อินเดียในยุคต่อมาใช้เดือนจิตรมาส หรือเดือนเมษายน เป็นต้นปีนั้น มีที่มาจากฝ่ายเหนือของอินเดีย เพราะในพื้นที่บริเวณดังกล่าวเดือนเมษายนเป็นเดือนที่ลมฟ้าอากาศดีที่สุด มติได้แผ่เข้ามายังชนชาวไทย โดยพราหมณ์นำเข้ามาอิทธิพลของลัทธิพราหมณ์ในครั้งนั้นสูงมากพอจนทำให้ไทยเราหันไปใช้ตามแบบ พราหมณ์ในหลาย ๆ เรื่อง รวมทั้งวันขึ้นปีใหม่ด้วย โดยนับเดือนห้าเป็นต้นปี ทำให้เราต้องขึ้นปีใหม่ 2 ครั้ง คือขึ้นหนึ่งค่ำ เดือนห้า และวันสงกรานต์ ซึ่งจะเลื่อนไปมาในแต่ละปีไม่แน่นอน
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงเห็นความลำบากในกรณีดังกล่าว เมื่อไทยต้องมีการติดต่อกับ ต่างประเทศมากขึ้น ดังนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2432 วันขึ้นหนึ่งค่ำ เดือนห้า ไปตรงกับวันที่ 1 เดือนเมษายน พอดี จึงได้มีประกาศบรมราชโองการ ให้ถือวันที่ 1 เดือนเมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยตั้งแต่นั้นมา
            ประเทศไทยได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 เดือนมกราคม เมื่อปี พ.ศ. 2484 ด้วยเหตุผลทั้งมวลที่ได้กล่าวมาแล้ว และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ บรรดานานาประเทศ ได้ใช้วันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่ ทำให้สมประโยชน์แก่ประเทศไทยด้วยประการทั้งปวง ความหมาย
            ความหมาย ของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า ” ปี” ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ 

            ความเป็นมา ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายนการกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมาอย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นในกรุงเทพฯเป็นครั้งแรกการจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆ มา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการจัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการเป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไปเหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่

1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆวันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้นกิจกรรม
วันที่ 1 มกราคมของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย

เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริสวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย
ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญเกี่ยวกับ เพลงพรปีใหม่
เพลงพระราชนิพนธ์ พรปีใหม่ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 เมื่อเสด็จนิวัตพระนคร และประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่ แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง “พรปีใหม่” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495วันเด็ก ประวัติวันเด็ก วันเด็กแห่งชาติ คำขวัญวันเด็ก ของขวัญวันเด็ก ความเป็นมา
วันเด็กแห่งชาติ ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี เป็นวันหยุดราชการที่มิได้ชดเชยในวันทำงานถัดไป (วันจันทร์) มีการให้คำขวัญวันเด็กทุกปีโดยนายกรัฐมนตรี
สำหรับงานวันเด็กแห่งชาติในเมืองไทยครั้งแรกนั้น จัดขึ้นในวันจันทร์แรก ของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 ตามคำเชิญชวนขององค์การสหพันธ์ เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความต้องการของเด็กและเพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาท อันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ และได้จัดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี จนถึง พ.ศ. 2506 จึงมีความคิดว่าควรจะเปลี่ยนไปจัดงานวันเด็กในวันเสาร์ที่ 2ของเดือนมกราคมเนื่องจากเห็นว่า เป็นช่วงที่พ้นจากฤดูฝนมาแล้ว และเป็นวันหยุดราชการทำให้เกิด ความสะดวกด้วยประการทั้งปวง แต่ในปีถัดมา คือปี พ.ศ. 2507 ไม่สามารถจัดงานวันเด็กได้ทัน จึงได้เริ่มจัดในปี พ.ศ. 2508 ซึ่งถือเอาวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมเป็นวันเด็กแห่งชาติมาจนถึงปัจจุบันนี้ ประวัติความเป็นมาของวันเด็กส่วนความเป็นมาของวันเด็กนั้น เริ่มขึ้นเพราะว่าเด็กนับเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของประเทศ เป็นพลังสำคัญใน การพัฒนาชาติบ้านเมือง ให้เจริญก้าวหน้าและมั่นคง ดังนั้น เด็กจึงควรที่จะเตรียมตัวที่จะเป็นกำลังของชาติด้วย หากเด็กทุกคนได้ตระหนักถึงอนาคตของตนและของประเทศชาติ ไม่ว่าจะเป็นการขยันหมั่นศึกษาหาความรู้ และใช้ เวลาให้เป็นประโยชน์ ประพฤติตนอยู่ในระเบียบวินัย มีความขยันขันแข็ง ตลอดจนมีความเมตตากรุณา ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อผู้อื่น เสียสละเพื่อส่วนรวมดังนี้แล้ว ก็จะได้ขึ้นชื่อว่าเป็น “เด็กดี” ชาติบ้านเมืองก็จะเจริญ มีความผาสุกร่มเย็น ต่อไป
ส่วนความคิดในการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้ตระหนักถึงความสำคัญของตนเองนั้น นายวีเอ็ม กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศ ได้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ ให้มีการจัด งานวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไป เห็นความสำคัญของเด็ก
วันเด็กแห่งชาติของประเทศไทยจึงจัดให้มีขึ้นในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 และปฏฺบัติกันเรื่อยมา จนถึงปี พ.ศ. 2506 ต่อมาเห็นว่า วันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เหมาะสมสำหรับการจัดงานวันเด็กมากกว่า เนื่อง จากพ้นฤดูฝนและเป็นวันหยุดราชการ แต่ในปี พ.ศ. 2507 ไม่สามารถจัดงานวันเด็กได้ทัน จึงได้จัดกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 งานวันเด็กแห่งชาติจึงจัดให้มีขึ้นในวันเสาร์ที่2 ของเดือนมกราคม มาจนถึงบัดนี้
ในการจัดงานวันเด็กแห่งชาตินั้น รัฐบาลได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานฉลองวันเด็กขึ้นคณะหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ให้เด็กทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน พร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อให้เด็กได้รู้ถึงความสำคัญของตนเอง รู้ถึงความมีระเบียบวินัย รู้จักสิทธิหน้าที่ ความรับ ผิดชอบต่อตนเองและสังคม ทุก ๆ ปีเมื่อถึงวันเด็กแห่งชาติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานพระบรมราโชวาท สมเด็จพระสังฆ ราชเจ้าทรงโปรดประทานพระคติธรรม และ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จะมอบคำขวัญวันเด็กให้กับเด็กไทยทุกปี ซึ่ง ล้วนเป็นการเสนอแนะให้แนวทางที่เด็กสามารถปฎิบัติได้ พลังของเด็กในปัจจุบัน ถ้ามีพื้นฐานมาแต่เริ่มต้น ไม่ว่าจะ เป็นการคิดและทำในสิ่งที่ดีและละเว้นความชั่ว ก็จะเป็นประโยชน์มหาศาลแก่ประเทศชาติ คำขวัญวันเด็กฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี